skip to Main Content

พริก [เล่าเรื่องโดย : จุฑามาศ พีรพัชระ, สุวรรณ ประทีป ณ ถลาง]
มารู้จักเครื่องปรุงหลักของอาหารไทยอีกสักชนิดดีกว่า วันนี้เราจะมารู้จักกับพระเอกของอาหารไทยกันค่ะ

  พริก เป็นผลแก่หรือสุกของต้นพริก มีหลายพันธุ์ เช่น พริกขี้หนู พริกบางช้าง พริกหยวก พริกตุ้ม พริกชี้ฟ้า เป็นต้น พริกทุกชนิดมีรสเผ็ดร้อนใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องแกง ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร สีของพริกช่วยแต่งสีในอาหาร เช่น พริกสีเขียวใช้ในการทำแกงเขียวหวาน สีแดงใช้ทำแกงเผ็ด ใบและยอดอ่อนของพริกใช้รับประทานเป็นผัก เช่น ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่แกงเลียง มีรสเผ็ดเล็กน้อย
ในพริกมีคุณค่าทางอาหาร คือ วิตามินซี ฟอสฟอรัส ช่วยเจริญอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับลม กระตุ้นระบบหายใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น บรรเทาอาการปวดเอว ปวดหลัง และไขข้ออักเสบ แต่มีรสเผ็ดร้อนที่ควรระวัง

  พริกขี้หนู (Bird Chilli, Chili pepper) หรือในชื่อท้องถิ่นว่า ดีปลี, ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก (ใต้) พริกชี้ฟ้า พริกแด้ พริกแจว พริกนก (เหนือ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens Linn. อยู่ในวงศ์ Solanaceae
พริกขี้หนู มีรสเผ็ดร้อนมากที่สุด มี 2 ชนิด คือ พริกขี้หนูสวน มีขนาดเล็ก รสเผ็ดจัด นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมในอาหารให้รสเผ็ดร้อน และชนิดที่ 2 คือ พริกขี้หนูใหญ่ ที่มีขนาดเม็ดโตกว่าพริกขี้หนูสวนแต่ให้รสชาติเผ็ดน้อยกว่า นิยมใช้ปรุงอาหารทั่วไป ที่เห็นได้บ่อยคือ ใช้สำหรับเป็นเครื่องปรุงให้ความเผ็ดในส้มตำ

  พริกชี้ฟ้า (Chili spur pepper) หรือในชื่อท้องถิ่นว่า พริกหลวง พริกแล้ง พริกหนุ่ม พริกเดือยไก่ พริกมัน (เหนือ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsieum annuum Linn. Var. acuminatum Fingerh. อยู่ในวงศ์ Solanaceae
พริกชี้ฟ้า เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีผลกลมยาวปลายแหลม มีหลายสี เช่น ขาว เหลืองอ่อน เขียวแก่ ส้มหรือแดง เมล็ดใหญ่และยาวกว่าพริกขี้หนู ผลชี้ขึ้นข้างบน รสเผ็ดจัด

  พริกหนุ่ม (Chili spur pepper) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum annuum Linn. Var. acuminatum Fingerh
พริกหนุ่มคือ พริกสดที่มีเมล็ดยาวคล้ายพริกชี้ฟ้า แต่มีสีเขียวอ่อน ผิวจะเป็นคลื่นเล็กน้อย มีรสเผ็ดร้อน

  พริกแห้ง (Dried Hot Pepper) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum Linn. Var. Acuminatum Fingerh.
พริกแห้งที่ใช้ในอาหารไทยมี 2 ชนิดคือ พริกแห้งเม็ดใหญ่และพริกขี้หนูแห้ง ให้ความเผ็ดร้อนต่างกัน ส่วนใหญ่นิยมใช้พริกแห้งเม็ดใหญ่ ช่วยให้แกงมีสีแดงสวย ให้ความเผ็ดร้อนไม่มากเหมือนพริกขี้หนูแห้ง ประโยชน์ของพริกแห้งคือ ใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำพริกแกงต่าง ๆ เช่น แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ยำ เป็นต้น ถ้านำมาคั่วและบดจะได้พริกแห้งป่น ใส่ในอาหารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเผ็ดร้อน

 

thea-food-62-12-14 (1)
thea-food-62-12-14 (2)
thea-food-62-12-14 (3)
thea-food-62-12-14 (4)
thea-food-62-12-14 (5)
thea-food-62-12-14 (6)
thea-food-62-12-14 (7)
previous arrow
next arrow
thea-food-62-12-14 (1)
thea-food-62-12-14 (2)
thea-food-62-12-14 (3)
thea-food-62-12-14 (4)
thea-food-62-12-14 (5)
thea-food-62-12-14 (6)
thea-food-62-12-14 (7)
previous arrow
next arrow
 
Back To Top
Search